จดหมายเหตุเกี่ยวกับพระธาตุนาดูน

June 2, 2017 Koppy 0

22 พฤษภาคม 2522                       กรุพระแตก 8 มิถุนายน 2522                            พบพระบรมสารีริกธาตุ 14 กรกฎาคม 2522                         รวบรวมส่นประกอบของพระสถูปได้ครบ 3 กันยายน 2525                            กรมศิลปากรเขียนแบบแปลนพระธาตุนาดูนและ แผนผังพุทธมณฑลอีสานเสร็จ 30 กรกฎาคม 2525                         สร้างศาลาปฏิบัติศาสนกิจ 25 กุมภาพันธ์ 2528                        เปิดซองประกวดราคาก่อสร้างพระธาตุนาดูน […]

การก่อสร้างพระธาตุนาดูน และการบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ

June 2, 2017 Koppy 0

นับตั้งแต่ได้ขุดพบสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และโบราณวัตถุต่างๆ เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2522 และเก็บรักษาไว้ที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม เป็นเวลานานหลายปี รัฐบาลจึงได้จัดสรรงบประมาณเป็นเงิน 7,580,000 บาท เพื่อสร้างพระธาตุสำหรับบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ โดยกรมศิลปากร ได้ให้นายประเสริฐ สุนทโรวาท สถาปนิก กรมศิลปากร เป็นผู้ออกแบบและว่าจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัดศิวกรก่อสร้าง เป็นผู้ทำการก่อสร้าง ตามสัญญาจ้างเลขที่ 14/2528 ลงวันที่ 12 กันยายน […]

แบบพระพิมพ์ดินเผานาดูน

June 2, 2017 Koppy 0

พระพิมพ์ดินเผานาดูนที่ขุดพบเมื่อปี พ.ศ.2522 นั้น เป็นพระพิมพ์ดินเผาฝีมือช่างประจำราชสำนัก โดยในกอมระตาญง์พร้อมด้วยสหายได้ร่วมกันสร้างไว้เพื่อเป็นพุทธบูชาสืบต่อพระพุทธศาสนา พระพิมพ์ดินเผานาดูนมีพุทธศิลป์ลวดลายลีลาอ่อนช้อยสวยงาม และเป็นศิลปะสมัยทวารวดีมีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 13-16 หรือประมาณ 1,300 ปี เนื้อพระพิมพ์แข็งแกร่งมากใช้เลื่อยตัดเหล็กตัด 2-3 ปิ้นจึงจะขาด พระพิมพ์บางองค์กลายเป็นเนื้อหิน สีเนื้อพระพิมพ์ 5 สี คือ สีหิน (สีน้ำตาลแก่) สีเหลืองอ่อนหรือสีเหลืองมันปู สีชมพู (มีน้อยมาก) สีแดงหินทราย […]

วันได้มาของส่วนประกอบองค์สถูป

June 2, 2017 Koppy 0

นายบุญจันทร์ เกษแสนศรี พร้อมด้วยครอบครัวได้นำสถูปพร้อมด้วยผอบบรรจุพระบรมสารีริกธาตุมอบให้อำเภอนาดูน เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2522 นายภานุพล พุทธาศรี นายอำเภอนาดูน พร้อมด้วยนายอาคม วรจินดา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยศิลปวัฒนธรรมอีสาน มศว.มหาสารคาม และนายสมชาย ลำดวน ผู้ช่วยศาสตราจารย์คณะมนุษย์ศาสตร์ มศว.มหาสารคาม ได้ไปขอรับยอดสถูปสำริดจากหน่วยศิลปากรที่ 7 ขอนแก่น เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2522 […]

ลักษณะสถูปสำริดและการบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ

June 2, 2017 Koppy 0

สถูปทำด้วยทองสำริด แยกออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนตัวสถูปหรือองค์ระฆัง ทำด้วยทองสำริด มีลักษณะคล้ายระฆัง หรือโอคว่ำ สูง 12.1 เซนติเมตร แบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ ตอนตัวสถูปหรือองค์ระฆัง ซึ่งเป็นส่วนที่บรรจุพระอังคาร (ขี้เถ้า) เทียนและดอกไม้ ตอนคอสถูปหรือคอระฆัง ซึ่งเป็นส่วนที่บรรจุผอบพระบรมสารีริกธาตุ ส่วนยอด ทำด้วยทองสำริดกลมตัน ทำเป็นปล้องไฉน […]

ลักษณะการบรรจุสถูปไว้ในโบราณสถาน

June 2, 2017 Koppy 0

จากการขุดแต่งโบราณสถานแห่งนี้ ได้ทราบว่า ตัวเรือนโบราณสถานสร้างด้วย   ศิลาแลงวางเรียงซ้อนกันเป็นชั้นๆ เป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส การบรรจุสถูปจะบรรจุอยู่ตรงกลางโบราณสถาน ลึกลงไปจากระดับผิวดินเดิมประมาณ 0.50 เมตร ใช้ศิลาแลงสร้างครอบทับไว้อีกชั้นหนึ่ง และมีโบราณวัตถุอันเป็นมงคล เช่น พระพิมพ์ดินเผาปางต่างๆ ดอกไม้เงิน ดอกไม้ทอง หินรัตนชาติ เป็นต้น วางเรียงรายอยู่โดยรอบ การบรรจุสถูปไว้ใต้พื้นดินอย่างนี้คงจะเป็นประเพณีนิยมเรื่องการบรรจุพระธาตุไว้ใต้ดินแล้วสร้างสถูปครอบทับ เช่นเดียวกันกับเจดีย์   ทวารวดีองค์หนึ่งในเมืองคูบัว จังหวัดราชบุรี และที่พระปรางค์วัดมหาธาตุ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งมีลักษณะการบรรจุไว้ใต้ดินแบบเดียวกัน […]

คำจารึกหลังพระพิมพ์ดินเผานาดูน

June 2, 2017 Koppy 0

รูปลักษณะตัวอักษรที่จารึกบนแผ่นหลังพระพิมพ์ดินเผาทั้ง 2 แบบ เป็นอักษรขอมโบราณ (ปัลลวะ) และมอญโบราณ และเป็นแบบเดียวกันกับรูปอักษรจารึกคาถาที่จารึกแบนแผ่นศิลา หรือแผ่นดินเผา ซึ่งพบที่จังหวัดนครปฐม และจังหวัดสุพรรณบุรี รูปลักษณะตัวอักษรแบบที่กล่าวนี้อยู่ร่วมสมัยราชวงศ์ปัลลวะที่ได้ใช้อยู่ในสมัย “ทวารวดี” ประมาณพุทธศตวรรษที่ 15 เรียกว่าอักษรปัลลวะ ตัวอักษรจารึกหลังพระพิมพ์ดินเผา เลขทะเบียน 712/2522 และเลขทะเบียน 1106/2522 ที่คุณสถาพร ขวัญยืน เจ้าหน้าที่กองโบราณคดี กรมศิลปากร จากรายงานการ    […]

ที่ตั้งและลักษณะธรณีสัณฐาน

June 2, 2017 Koppy 0

เนินดินแห่งนี้เป็นที่นาของนายทองดี ปะวะภูตา ราษฎรบ้านนาดูน อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม ตั้งอยู่ที่เส้นรุ้งที่ 15 42 25” เหนือ และเส้นแวง 103 42 48” ตะวันออก (แผนที่ทหาร ลำดับชุด (7017 ระวางที่ 4640 ///) อยู่ห่างจากตัวอำเภอนาดูน ไปทางทิศตะวันออกประมาณ 2 กิโลเมตร […]

ความเป็นมาของการขุดค้นพระพิมพ์ดินเผาและพระบรมสารีริกธาตุ

June 2, 2017 Koppy 0

3.1 ที่ตั้งเมืองโบราณ : นครจัมปาศรี จากการศึกษาสภาพภูมิประเทศที่ตั้งนครจัมปาศรี มีลักษณะเป็นรูปไข่ยาวจากเหนือไปใต้ พื้นที่เป็นที่สูงๆ ต่ำ มีหนองน้ำขาดตอนเป็นห้วงๆ อยู่มากมายหลายแห่ง ชาวบ้านเรียกว่า “กุด” เช่น กุดทอง กุดฮี กุดโด กุลลอบ กุดหล่ม กุดหล่มม่อง กุดอ้อ หนองกุดบอน     กุดสระแก้ว กุดฟ้าฮ่วน เป็นต้น หนองน้ำเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ […]

ประวัติความเป็นมาพระธาตุนาดูน ตอนที่ 3

June 2, 2017 Koppy 0

ผลแห่งการบำรุงพระพุทธศาสนาแห่งมหาราชองค์นี้ ได้แผ่ขยายเข้าสู่ประเทศไทยทั้งที่เป็นวัตถุธรรมและนามธรรม นามธรรมได้แก่ พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ส่วนวัตถุธรรมนั้นได้แก่ พระสถูปเจดีย์ และพระบรมสารีริกธาตุ สถูปเจดีย์ที่เป็นต้นแบบในปัจจุบัน คือสถูปที่สาญจิ ซึ่งสร้างไว้ราวพุทธศตวรรษที่ 5 โดยตัวสถูปทำเป็นรูปทรงกลม ลักษณะคล้ายขันน้ำ หรือโอคว่ำ สถูปแบบนี้เองที่พัฒนาเป็นสถูปในดินแดนสุวรรณภูมิ นักโบราณคดีไทยถือกันว่าเป็นศิลปแบบทวารวดี เช่น สถูปที่วัดไชยบาดาล สระบุรี สถูปศิลาที่จังหวัดนครปฐม    เป็นต้น พระสถูปสำริด ที่อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม ก็มีลักษณะรูปทรงร่วมสมัยกับสถูปทั้งสองแห่งดังที่กล่าวมาแล้ว […]