
รูปลักษณะตัวอักษรที่จารึกบนแผ่นหลังพระพิมพ์ดินเผาทั้ง 2 แบบ เป็นอักษรขอมโบราณ (ปัลลวะ) และมอญโบราณ และเป็นแบบเดียวกันกับรูปอักษรจารึกคาถาที่จารึกแบนแผ่นศิลา หรือแผ่นดินเผา ซึ่งพบที่จังหวัดนครปฐม และจังหวัดสุพรรณบุรี รูปลักษณะตัวอักษรแบบที่กล่าวนี้อยู่ร่วมสมัยราชวงศ์ปัลลวะที่ได้ใช้อยู่ในสมัย “ทวารวดี” ประมาณพุทธศตวรรษที่ 15 เรียกว่าอักษรปัลลวะ
ตัวอักษรจารึกหลังพระพิมพ์ดินเผา เลขทะเบียน 712/2522 และเลขทะเบียน 1106/2522 ที่คุณสถาพร ขวัญยืน เจ้าหน้าที่กองโบราณคดี กรมศิลปากร จากรายงานการ ขุดแต่งโบราณสถานที่อำเภอนาดูน ได้ส่งไปให้คุณประสาร บุญประคอง คุณจำปา เยื้องเจริญ และคุณเทิม มีเต็ม กองหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร ได้ร่วมกันอ่านและแปลดังนี้
(1) คำจารึกหลังพระพิมพ์ดินเผานาดูน เลขทะเบียน 712/2522 มีข้อความ 4 บรรทัดดังนี้
คำจารึก คำอ่านภาษามอญ
- ไนอ์เวาอ์ปุณ.ยโนะอ์ วุอ์ ปุณ.ยะ
- กม.รเตง์ไป.ทกกอมระตาญง์ ปะทัว กะ-
- เราม์อาร์สํ.กฺทโรม อาร์ สะเก๊าะสะเก๊า โต๊ะ-
- ส์ชาติส.มร์หะ เจียตอย สมอร์
คำแปล
บุณย์อันนี้ ในกอมระตาญง์พร้อมไปด้วยสหายของตน
ผู้เป็นสามัญชนได้ร่วมกันสร้างไว้
อธิบายศัพท์คำภาษามอญ
โนะอ์ (ไนอ์) = อัน, นี่
วุอ์ (เวาอ์) = นี้
ปุณ.ยะ (ปุณ.ย) = บุณย์ (กุศลกรรม)
กอมระตาญง์ (กม.รเตง์) = กอมระตาญง์ (เป็นชื่อเฉพาะ) สมัย. ครั้ง
ปะทัว (ไป. ฑ) = ใน
กะโรม (กเราม์) = พร้อม
อาร์ (อาร์) = ไป
สะเก๊าะสะเก๊า (สํ.กุ) = มิตรสหายของตน
โต๊ะหะ (ทส์) = เป็น
เจียตอน (ชาติ) = ตระกูล , ชาติกำเนิด
สมอร์ (ส.มร์) = สามัญ ,ต่ำ
(2) คำจารึกหลังพระพิมพ์ดินเผานาดูน เลขทะเบียน 1106/2522 มีข้อความ 2 บรรทัด
คำจารึก คำอ่านภาษามอญ
- ไนอ์เวาอ์โนะอ์ วุอ์
- (ปฺ) ณ.ยกม.ร (เตง์)ปุณ.ยะ กอมระตาญง์
คำแปล
บุญย์อันนี้ (ใน) กอมระตาญง์
คำอธิบายศัพท์คำภาษามอญ
โนะอ์ (ไนอ์) = อัน, นี่
วุอ์ (เวาอ์) = นี้
ปุณ.ยะ (ปุณ.ย) = บุณย์ (กุศลกรรม)
อนึ่ง ข้อความในจารึกหลังพระพิมพ์ดินเผานาดูน เลขทะเบียน 712/2522 ที่แปลว่า “บุณย์อันนี้ ในกอมระตาญง์ พร้อมไปด้วยสหายของตนผู้เป็นสามัญชนได้ร่วมกันสร้างไว้” ถ้าหากว่า “กอมระตาญง์” ใช้เป็นพระนามของกษัตริย์ ข้อความดังกล่าวควรที่จะแปลได้เป็นสำนวนดังนี้
“บุญย์อันนี้ ในพระกอมระตาญง์และพร้อมไปด้วย
(พระ) สหายผู้เป็น สามัญชนได้ร่วมกันสร้างไว้”